ปี 1950
U.S. Public Health Service สนับสนุนให้ทั่วประเทศเติมฟลูออไรด์ โดยในอีก 10 ปีต่อมาเมืองใหญ่หลายแห่งเริ่มนำระบบฟลูออไรด์มาใช้ เช่น ชิคาโก้ และนิวยอร์ก ในขณะเดียวกันก็เกิดเสียงคัดค้านขึ้น เริ่มจากกลุ่ม anti-fluoride ซึ่งมองว่าเป็นการบังคับประชาชนโดยรัฐ และมีความกังวลเรื่องผลเสียระยะยาว
แนวคิดการบังคับประชาชนนั้นแม้ในช่วงดังกล่าวไม่สำเร็จในสหรัฐฯ แต่สำเร็จในประเทศอื่นก็สำเร็จจนนำมาสู่การยกเลิกในภายหลัง เช่น เนเธอร์แลนด์ สวีเดน และอิสราเอล หลังจากนั้นบางเมืองในสหรัฐฯ ก็มีการเคลื่อนไหวในแนวทางนี้เช่นกัน โดยจัดให้ลงประชามติ จนนำไปสู่การยกเลิกการเติมฟลูออไรด์ เช่น Wichita ในรัฐแคนซัส และ Spokane ในรัฐวอชิงตัน
ปี 2011
กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐฯ แนะนำลดระดับฟลูออไรด์ในน้ำประปาจาก 1.2 มิลลิกรัมต่อลิตร เหลือ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร หลังจากที่ในช่วงก่อนหน้านี้มีรายงานออกมาในเรื่องของผลกระทบจากระดับฟลูออไรด์ที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อ IQ ของเด็กและผลต่อระบบประสาท
ทั้งนี้ ระดับ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นระดับที่ใช้ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นระดับที่ปลอดภัยสำหรับการป้องกันฟันผุและไม่ทำให้เกิดการสะสมในร่างกายในปริมาณที่เป็นอันตราย
ปี 2012
ในปี 1999 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ประกาศว่า นโยบายการใส่ฟลูออไรด์ในน้ำประปาเป็นหนึ่งใน 10 ความสำเร็จด้านสาธารณสุขของศตวรรษที่ 20
อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2012 การศึกษาโดย Choi et al. (2012) รายงานการศึกษาพบว่าการสัมผัสฟลูออไรด์ในระดับสูงอาจมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางสมองของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่มสูงกว่าระดับที่แนะนำ
ปี 2020
กลุ่มสิ่งแวดล้อมอย่าง Fluoride Action Network (FAN) ยื่นฟ้อง EPA (Environmental Protection Agency) ภายใต้กฎหมายสารพิษ (TSCA) ให้ยุติการเติมฟลูออไรด์ เนื่องจากผลกระทบต่อสมองเด็ก คดีนี้ชื่อว่า FAN v. EPA (2020–ปัจจุบัน) ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล โดยมีการยื่นหลักฐานงานวิจัยจำนวนมาก
ปี 2024
ประเด็นการเติมฟลูออไรด์ในนำ้ประปากลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง เมื่อมีรายงานฉบับใหม่จากโครงการพิษวิทยาแห่งชาติ (NTP) ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐฯ พบว่าฟลูออไรด์ในน้ำดื่มที่มีปริมาณมากกว่าสองเท่าของระดับที่แนะนำ มีความสัมพันธ์กับ IQ ที่ต่ำลงในเด็ก
โดยงานวิจัยชิ้นนี้เผยแพร่ในเดือนสิงหาคม 2024 พบความเชื่อมโยงระหว่างการได้รับฟลูออไรด์ในระดับสูงกับระดับ IQ ที่ลดลงในเด็ก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่มเกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) ที่กำหนดไว้ที่ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตรมาจากประเทศที่มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่มตามธรรมชาติสูง เช่น จีน อินเดีย และอิหร่าน
อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่าไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปว่าระดับฟลูออไรด์ที่แนะนำในสหรัฐฯ (0.7 mg/L) มีผลกระทบต่อ IQ ของเด็กหรือไม่ และไม่พบหลักฐานว่าการได้รับฟลูออไรด์มีผลกระทบต่อการทำงานของสมองในผู้ใหญ่
ทางด้าน สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) ได้ตรวจสอบรายงานนี้และออกมาโต้แย้ง โดยอ้างว่ารายงานดังกล่าวไม่ได้ให้หลักฐานใหม่หรือหลักฐานที่ชัดเจนใดๆ ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติในการเติมฟลูออไรด์ในน้ำประปาชุมชนในปัจจุบัน
ข้อค้นพบเหล่านี้จำกัดเฉพาะในกรณีที่ได้รับฟลูออไรด์มากกว่าสองเท่า (≥1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร) ซึ่งไม่ใช่ระดับที่ CDC แนะนำสำหรับการเติมฟลูออไรด์ในน้ำประปาชุมชน (0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร)
สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) ยังย้ำจุดยืนสนับสนุนการเติมฟลูออไรด์ในน้ำประปาชุมชน เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ โดยระบุว่าการเติมฟลูออไรด์ในน้ำสามารถลดอัตราการเกิดฟันผุได้มากกว่า 25% ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แม้ในยุคที่มีผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์หลากหลาย เช่น ยาสีฟันก็ตาม
ปี 2025
การเคลื่อนไหวล่าสุดของ FDA ออกจากตลาดทำให้ประเด็นดังกล่าวกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม FDA ไม่ได้แตะไปที่การเติมฟลูออไรด์ในน้ำประปา ซึ่งเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมาหลายทศวรรษ แต่เน้นไปที่ผลิตภัณฑ์เสริมฟลูออไรด์ในรูปแบบรับประทานสำรับเด็ก ซึ่งเป็นการนำเข้าสู่ร่างกายโดยตรง แม้ว่าข้ออ้างที่ว่า สินค้าเหล่านี้ส่งผลต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ จะถูกตีกลับจากสมาคมทันตแพทย์อเมริกัน ว่าไร้ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ก็ตาม
ทั้งนี้ ประเทศไทย ไม่ได้มีนโยบายการเติมฟลูออไรด์ในน้ำประปาแต่อย่างใด แต่อยู่ในรูปแบบของ ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก นมฟลูออไรด์ และการเคลือบฟลูออไรด์ในคลินิกแทน.
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.